เครดิตยูเนียน เป็นสถาบันการเงินที่สมาชิกเป็นเจ้าของ และบริหารงานโดยสมาชิก มีจุดประสงค์ในการระดมเงินออมเพื่อใช้สำหรับเป็นทุนให้บริการแก่สมาชิกในรูปแบบของสินเชื่อ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และไม่เน้นผลกำไรสูงสุด ผลกำไรที่ได้จะถูกจัดสรรเป็นสวัสดิการต่างๆ ให้แก่สมาชิก
เครดิตยูเนียน แตกต่างจากสถาบันการเงินอื่น ๆ ตรงที่สมาชิกของเครดิตยูเนี่ยนเป็นเจ้าของเครดิตยูเนี่ยน และสมาชิกจะเป็นผู้เลือกตัวแทนที่เป็นสมาชิกด้วยกันขึ้นมาเป็นกรรมการ ดำเนินการเพื่อบริหารเครดิตยูเนี่ยนโดยหลักการประชาธิปไตยหนึ่งคนหนึ่งเสียง โดยไม่มีการคำนึงถึงจำนวนหุ้นที่ได้ลงทุนในเครดิตยูเนี่ยน
บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์
บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ ท่านเป็นชาวฝรั่งเศส และเป็นบาทหลวงในศาสนาคริสต์ นิกายโรมัน คาทอลิก ซึ่งมีพระสันตประปาเบเนดิกซ์ที่ 16 เป็นประมุขในปัจจุบัน (ไม่ใช่ คริสต์เตียน หรือคริสตจักร)ก่อนเข้ามาเมืองไทยท่านประจำอยู่ประเทศจีน ท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะพลมารี ซึ่งเป็นกลุ่มกิจกรรมของศาสนาคริสต์ในประเทศจีน ซึ่งเป็น ข้อห้ามจัดตั้งกลุ่มประชาชน ที่มีพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองอยู่ในสมัยนั้น ท่านจึงถูกจับและติดคุกนาน 3 ปี จากนั้นถูกขับไล่ให้ออกจากประเทศจีนในข้อหาเป็นขบถ ท่านได้เข้ามาอยู่ใน ประเทศไทย และและทำงานอยู่กับคนยากจน ในสลัมต่างๆของกรุงเทพฯ ท่านทำงานกับทุกคนโดยไม่แบ่งชนชั้น วรรณะ และศาสนา
สลัมห้วยขวาง เป็นจุดกำเนิดของขบวนการเครดิตยูเนี่ยนในเมืองไทย บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ ได้ส่ง คุณอัมพร วัฒนวงศ์ ไปศึกษาที่ สถาบันเซียร์โซลิน ซึ่งเป็น แผนกหนึ่งของ มหาวิทยาลัยเซเวียร์ ประเทศฟิลิปปินส์ แผนกที่ศึกษานั้นสอนเรื่องการพัฒนาคนโดยวิธีการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณอัมพร ได้กลับมาทำงานกับคนใน ชุมชนสลัมห้วยขวางต่อไป
บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ ท่านได้ทุ่มเทชีวิตของท่าน ในการทำงานกับคนจน ท่านคิดเสมอว่าการให้ความช่วยเหลือ โดยที่ชาวบ้านในชุมชนคอยรับการช่วยเหลือเพียงอย่าง เดียวนั้น เป็นความคิด และปฏิบัติไม่ถูกต้อง เป็นการทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นคนมากกว่า ท่านจึงให้ชาวบ้านในชุมชนนั้นมารวมตัวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้จักการเก็บ ออมเงิน เพื่อช่วยเหลือกันในรูปแบบเครดิตยูเนี่ยนกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกนี้ จึงเกิดขึ้นด้วยคนเพียง 13 คน เงินรวมกันครั้งแรก จำนวน 360 บาท ใช้ชื่อว่า “กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์ กลางเทวา” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ขบวนการเครดิตยูเนี่ยนในเมืองไทยจึงกำหนดให้วันนี้ เป็นวัน “เครดิตยูเนี่ยนไทย” จึงนับได้ว่า บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ นั้นเป็นบิดาแห่งเครดิตยูเนี่ยนในเมืองไทยอย่างแท้จริง
ที่มา : ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด
คุณอัมพร วัฒนวงศ์
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำกัด เกิดจากแนวความคิดของ ผศ.สุภาณี กระตุกฤกษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 ซึ่งท่านได้รับการอบรม เกี่ยวกับสหกรณ์ยูเนี่ยนและมีความสนใจ นำมาขอจัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ครั้งแรกจัดตั้งขึ้น เป็นกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน โดยมี ผศ.ชาญศักดิ์ บุญเรือง รองอธิการบดี ในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการ